1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ที่ต้องศึกษาเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย ทฤษฎีที่ได้มาจาก 2 กลุ่ม ดังนี้
-กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
-กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีมีดังนี้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov)กล่าวว่า การเกิดปฏิกริยาตอบสนองต่อร่างกายนั้นไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างเดียวที่ทำให้เกิด หากมีการวางเงื่อนไขที่เหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) กล่าวว่า สิ่งเร้าหนึ่งๆทำให้เกิดการตอบสนองหลายอย่าง จนกว่าจะพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุดเขาได้พบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอาจไม่ได้มาจากส่งตอบสนองเพียงสิ่งเดียว และถ้ามีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกันได้ แนวคิดนี้สามารถนำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้นั้นมีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษา การจัดประสบการณ์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่อธิบายถึง กระบวนการเรียน พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories) ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
2.ทฤษฎีการสื่อสาร
การสื่อสาร (communication ) คือ กระบวนการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มคน โดยวิธีการต่างเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
ทฤษฎีการสื่อสารของ เบอร์โล (Berlo)
รูปการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง (Source) เป็นผู้ที่ต้องมีความรู้ ความชำนาญและความสามารถในเนื้อหาสารเป็นอย่างดี และยังต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของผู้รับสาร
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวในส่วนของเนื้อหา วิธีการส่งข่าวสารนั้นๆ
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) การส่งสารให้กับผู้รับสารโดยผ่านสิ่งต่างๆ
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องมีความรู้ ความชำนาญในการสื่อสาร มีพื้นฐานเดียวกับผู้ส่งสารจึงจะทำให้การส่งสารมีประสิทธิภาพ
3.ทฤษฎีระบบ (System Theory)
ระบบ คือ สิ่งต่างๆที่ความสัมพันธ์กัน ส่วนประกอบมีการทำงานผสมผสานกัน
ประเภทของระบบ
จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท
- ระบบปิด (Closed System) เป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ผูกพันกับระบบใด
- ระบบเปิด (Open System) เป็นระบบที่ต้องการติดต่อกับระบบ หน่วยงาน และองค์กรอื่นๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีผลซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบของระบบ
ประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ส่วน คือ สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input)กระบวนการ (Process) และผลงาน (Output) โดยแต่ละส่วนจะต้องมีความสัมพันธ์และผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์การ
4.ทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การเผยแพร่นั้นเกิดจากการผสมผสานทฤษฎี หลักการ และความรู้ ความจริง ไม่ชี้เฉพาะว่าเผยแพร่ นวัตกกรรมในสาขาวิชา ศาสตร์ใด เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ในทุกสาขาวิชา
Everett M. Rogers ในหนังสือของเขาชื่อ Diffusion of Innovations ซึ่งถูกนำไปใช้ในงานการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด และเป็นฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมดังต่อไปนี้
1) ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม (The Innovation Decision Process Theory)
2) ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล (The Individual Innovativeness Theory)
3) ทฤษฎีอัตราการยอมรับ (The Theory of Rate of Adoption) และ
4) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ (The Theory of Perceived Attributes)
5.การเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม
จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมด้านสมอง สติปัญญา ความรู้ ความคิด ความสามารถในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ
2. จิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมด้านจิตใจ ความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม ไม่ได้เกิดขึ้นในทันที อยู่ที่การจัดจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมสอดแทรกสิ่งที่ดีงาม มีผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้
6. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (Gagne )
เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งเร้า และมีการสังเกตพฤติกรรมว่าตอบสนองอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
· -การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
· - การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
· - การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
· -ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
· - ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
· -การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
· - การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
· การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase)ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น