ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อค
สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่าน บล็อคนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้                จิตวิทยา เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์ในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ                การเรียนรู้ (Lrarning) ตามความหมายทางจิตวิทยา นั้นหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมมนุษย์ที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลมาจากการฝึกฝนประสบการณ์เป็นอย่างดี จึงจะถือว่าเป็นการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เกิดการเรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนถึงก่อนตาย เพื่อพัฒนาให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ        1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ เมื่อผู้เรียนอยากรู้ อยากทราบอะไร จะทำให้เกิดการเรียนรู้        2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) คือ ก่อนเกิดการเรียนรู้ ต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ จึงจะทำให้สนใจ ใส่ใจที่จะเรียนรู้        3. การตอบสนอง (Response) เมื่อเจอสิ่งเร้าที่น่าสนใจ น่าสัมผัส ผู้เรียนจะสัมผัสด้วยวิธีการต่างๆ จนเกิดการเรียนรู้ จดจำ และการคิดเปรียบเทียบอย่างมีเหตุผล        4.การได้รับรางวัล (Reward) เมื่อได้รับการตอบสนอง มนุษย์จะเกิดความพึงพอใจ ภูมิใจลำดับขั้นของการเรียนรู้                -ประสบการณ์ (experiences) การที่บุคคลได้รับรู้ทางประสาทสัมผัสด้านต่างจนเกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นๆ                -ความเข้าใจ (understanding) เมื่อได้รับประสบการณ์แล้ว จะเกิดการตีความในประสบการณ์นั้น สมองจะเกิดสัญญาณและความทรงจำ ถ้าสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ประสบการณ์ได้แสดงว่าเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง                -ความนึกคิด (thinking) เป็นขั้นสูงสุดของการเรียนรู้ เกิดขึ้นที่สมองของเรา การนึกคิดอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการจัดระเบียบประสบการณ์เดิม และประสบการณ์ใหม่ได้ สามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์กันได้จุดมุ่งหมายการเรียนรู้         พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)ด้านเจตพิสัย(Affective Domain ) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้ ดอลลาร์ด และมิลเลอร์ (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ ประการ คือ                -แรงขับ (Drive) ความพร้อมในด้านต่างๆที่จะผลักให้เกิดการเรียนรู้
                -สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา                -การตอบสนอง (Response)ปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับสิ่งเร้า ทั้งแบบที่มองเห็นและมองไม่เห็น                -การเสริมแรง (Reinforcement) การเพิ่มอิทธิพลให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากขึ้น มีทั้งทางบวกและทางลบการถ่ายโยงการเรียนรู้    การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2ลักษณะ                -การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) ผลที่ทำให้การเรียนรู้หนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งได้เร็วยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่งานนั้นมีความคล้าย และสัมพันธ์กัน
                -การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer) เป็นผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางการเรียนรู้งานหนึ่งให้ช้าลง อาจเกิดแบบตามรบกวนหรือแบบย้อนรบกวนทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ                การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory) ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne )
                - การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
                เป็นทฤษฎีที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างมาก เพราะเป็นแนวทางในการกำหนดปั๙ญาการศึกษา อธิบายกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ กลุ่มใหญ่ๆ คือ-ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)                -ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)                        ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์                ธอร์นไดค์ได้สรุปว่า  การลองผิดลองถูกจะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้  ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง  (Connection)  ระหว่างสิ่งเร้า  (Stimuli)  และการตอบสนอง ( Responses )  การ เรียนรู้แบบลองผิดลองถูก  มีใจความที่สำคัญว่า  เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า  อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี  จนพบกับวิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ  มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น